ข้อ 1uncitral model law on electronic commerce 1996 คืออะไร มีสาระสำคัญอะไรบ้าง
uncitral model law on electronic commerce 1996 คือ
การรับรองผลทางกฎหมายของข้อความเอกสาร, การลงลายมือชื่อที่จัดทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับเอกสาร หนังสือหรือการลงลายมือชื่อที่ทำบนกระดาษ โดยพบใน มาตรา 6 (Writing), มาตรา 7 (Signature) และมาตรา 8 (Original) สาเหตุที่ทำให้หลักการข้างต้นเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับแบบพิธีหรือเงื่อนไขของกฎหมายต่างๆ คือ หลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดี การลงลายมือชื่อ และการนำเสนอและเก็บรักษาข้อความอย่างต้นฉบับ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” ได้นำหลักการดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในหลายมาตรา คือ มาตรา 8, 9, 10 ตามลำดับ
ข้อ 2 ประเทษไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่
มี เพราะมีการนำหลักการคุ้มครองผู้บริโภคมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) เป็นครั้งแรกใน มาตรา 57 “ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความ เห็นในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ”
กฎหมายสำคัญที่วางหลักการพื้นฐานเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องการซื้อขายสินค้าและ บริการคือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522“ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 ซึ่งวางหลักการสำคัญเรื่องคุ้ม ครองสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ คือ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง, สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการ, สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ, สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และสิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย หลักการทั้ง 5 ประการนี้มีบัญญัติไว้ในมาตราต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ ในเรื่องนี้มีผู้ให้ความเห็นว่า กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคทุกกรณี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่อประเภทใด แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวเนื่องเรื่องการใช้บังคับกฎหมาย
ข้อ 3 ถ้านักศึกษาซื้อสินค้าหรือบริการอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการ หรือสินค้าไม่ถูกต้องหรือชำรุดเสียหาย นักศึกษาควรจะทำอย่างไร
ปัญหาที่ผู้บริโภคมักประสบจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต อาจมีลักษณะเช่นเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นในการซื้อขายตามปกติ ได้แก่
1. ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า หรือให้บริการตามที่ตกลงกัน
2. สินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ
3. สินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้การได้
การแก้ไข
หากผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ หรือสินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ หรือสินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้การได้แล้วแต่กรณี แต่เดิมนั้นผู้บริโภคที่ใช้บัตรเครดิตอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อมาจึงมีการออก “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542” (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ มาตรา 35 ทวิ แห่ง“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522” เป็นผลทำให้ผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งรวมถึงบัตรเดบิตด้วยได้รับความคุ้มครองเมื่อชำระค่าสินค้า ค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน
3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต
มีสาระสำคัญดังนี้
เหตุผลในการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ กล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด สรุปเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7 - 25)
การรับรองรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 8)
การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย หากใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 9)
การนำเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร (มาตรา 10, 12)
การรับ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 15-24)
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำตามวิธีการที่น่าเชื่อถือ (มาตรา 25)
หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 26 - 31) (กรุณาดู หัวข้อ 6.4 และ 6.6)
หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 32 - มาตรา 34) (กรุณาดู หัวข้อ 6.5)
หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35) (กรุณาดู หัวข้อ 6.7)
หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 - 43)
หมวด 6 บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 - 46)
ข้อ 2 ประเทษไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่
มี เพราะมีการนำหลักการคุ้มครองผู้บริโภคมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) เป็นครั้งแรกใน มาตรา 57 “ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความ เห็นในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ”
กฎหมายสำคัญที่วางหลักการพื้นฐานเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องการซื้อขายสินค้าและ บริการคือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522“ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 ซึ่งวางหลักการสำคัญเรื่องคุ้ม ครองสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ คือ สิทธิที่จะได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง, สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการ, สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ, สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และสิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย หลักการทั้ง 5 ประการนี้มีบัญญัติไว้ในมาตราต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ ในเรื่องนี้มีผู้ให้ความเห็นว่า กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคทุกกรณี โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่อประเภทใด แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวเนื่องเรื่องการใช้บังคับกฎหมาย
ข้อ 3 ถ้านักศึกษาซื้อสินค้าหรือบริการอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการ หรือสินค้าไม่ถูกต้องหรือชำรุดเสียหาย นักศึกษาควรจะทำอย่างไร
ปัญหาที่ผู้บริโภคมักประสบจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต อาจมีลักษณะเช่นเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นในการซื้อขายตามปกติ ได้แก่
1. ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า หรือให้บริการตามที่ตกลงกัน
2. สินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ
3. สินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้การได้
การแก้ไข
หากผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ หรือสินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ หรือสินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหาย ไม่สามารถใช้การได้แล้วแต่กรณี แต่เดิมนั้นผู้บริโภคที่ใช้บัตรเครดิตอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อมาจึงมีการออก “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542” (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ มาตรา 35 ทวิ แห่ง“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522” เป็นผลทำให้ผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งรวมถึงบัตรเดบิตด้วยได้รับความคุ้มครองเมื่อชำระค่าสินค้า ค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต
กล่าวคือ ผู้ซื้อมีสิทธิขอยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการนั้น ภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันสั่งซื้อ หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดส่งมอบสินค้าหรือบริการ เมื่อมีกำหนดเวลาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ผู้บริโภคต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รับสินค้าจริง หรือได้รับไม่ตรงกำหนดเวลา หรือได้รับไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือชำรุดบกพร่องแล้วแต่กรณี
ข้อ 4 การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นกี่ประเภทการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน
3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต